เเนะนำตัว

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่บทความพหูสูต
จัดทำโดย นายจันท์ริตต์ เมา
สาขาพืชศาสตร์
กลุ่มเรียนวันศุกร์เช้า

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

วิธีการผลิตการสกัดน้ำมันหอมระเหย

วิธีการผลิต การสกัด
น้ำมันหอมระเหย
(Essential Oils)
สมัยโบราณมนุษย์มีวิธีการสกัดแยก "น้ำมันระเหย" ออกจากพืช โดยเก็บพรรณไม้หอมนานาชนิด แข่น้ำทิ้งไว้จนน้ำมีกลิ่นหอมของพรรณไม้ แล้วนำไปดื่มและอาบ ต่อมาจึงมีวิวัฒนาการมากขึ้น จนถึงปัจจุบันนี้มีวิธี "การผลิต การสกัด น้ำมันหอมระเหย" ตั้งแต่ขั้นตอนที่ง่ายดายจนถึงวิธีการที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ถึง 6 รูปแบบด้วยกัน ซึ่งการที่จะสกัด "น้ำมันหอมระเหย" ให้ได้ประสิทธิภาพที่สุดนั้น จำเป็นต้องศึกษาธรรมชาติและสรีระของพรรณไม้ชนิดนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตามการแยก "น้ำมันหอมระเหย"ออกมาจากพืชที่ทำกันมากที่สุดก็คือ การกลั่น  (Distillation), การสกัดด้วยไขมันเย็น (Enflourage), การสกัดด้วยไขมันร้อน (Maceration), และการสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent extraction)
ดร. ประเทืองศรี สินชัยศรี นักวิทยาศาสตร์ กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวแนะนำถึง ข้อดีข้อเสียแต่ละ "วิธีการผลิต การสกัด น้ำมันหอมระเหย"  มีดังนี้คื
การกลั่น
Aเนื้อเยื่อพืช ความร้อนจะทำให้สารละลายออกมากลายเป็นไอ ปนมากับน้ำร้อน หรือไอน้ำนั้น อย่างไรก็ดี การกลั่นเพื่อให้ได้ "น้ำมันหอมระเหย" ที่มีคุรภาพดีนั้น ต้องอาศัยเทคนิคและขบวนการทางเคมีและกายภาพหลายอย่างประกอบกัน โดยทั่วไปเทคนิคการกลั่นน้ำมันหอมระเหยที่ใช้กันอยู่มี 3 วิธี ได้แก่
1. การกลั่นด้วยน้ำร้อน
(Water distillation & Hydro-distillation)เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดของการกลั่นน้ำมันหอมระเหย  การกลั่นโดยวิธีนี้พืชที่ใช้กลั่นต้องจุ่มอยู่ในน้ำเดือดทั้งหมด  อาจพบพืชบางชนิดเบา  อาจจะลอยได้แล้วแต่ความAถ่วงจำเพาะของพืชนั้น  การให้ความร้อนกับน้ำ อาจให้ไปโดยรอบหรือให้ท่อไอน้ำผ่านการกลั่น  น้ำมันหอมระเหยนี้ใช้กับของที่ติดกันง่ายๆ เช่น ใบไม้บางๆ กลีบดอกไม้อ่อนๆ
การกลั่นโดยวิธีนี้ ใช้ตะแกรงกรองทีจะกลั่น ให้เหนือระดับน้ำในหม้อกลั่น  ต้มให้เดือด ไอน้ำจะลอยตัวขึ้นไปผ่านพืชหรือตัวอย่างที่จะกลั่น ส่วนน้ำจะไม่ถูกกับตัวอย่างเลย ไอน้ำจากน้ำเดือด เป็น ไอน้ำที่อิ่มตัว หรือเรียกว่า ไม่ร้อนจัดเป็นการกลั่นที่สะดวกที่สุด คุณภาพของน้ำมันออกมาดีกว่าวิธีแรก การกลั่นแบบนี้ใช้กันอย่างกว้างขวางในการผลิตน้ำมันหอมระเหยทางการค้า
วิธีนี้วางของอยู่บนตะแกรงในหม้อกลั่น ซึ่งไม่มีน้ำอยู่เลย ไอน้ำภายนอกที่อาจจะเป็นไอน้ำเปียก หรือไอน้ำร้อนจัดแต่ความดันสูงกว่าบรรยากาศ ส่งไปตามท่อได้ตะแกรง ให้ไอผ่านขึ้นไปถูกกับของบนตะแกรงไอน้ำต้องมีปริมาณเพียงพอที่จะช่วยให้น้ำมันแพร่ระเหยออกมาจากตัวอย่างถูกปล่อยออกมา
ข้อควรระวังในการกลั่นโดยวิธีนี้คือ โดยมากพืชจะได้รับความร้อนไม่สม่ำเสมอ ตรงกลางมักจะได้มากกว่าด้านข้าง  จะทำให้เกิดการไหม้ของพืช ซึ่งส่งผลให้เกิดกลิ่นไหม้ปนมากับน้ำมันหอมระเหยและมีสารไม่พึงประสงค์ติดมาในน้ำมันหอมได้  ก็คือใช้ไอน้ำร้อนหรืออาจใช้ Closed Steam Coil จุ่มในหม้อต้ม
แต่การใช้ Coil นี้ไม่เหมาะกับดอกไม้บางชนิดเช่น กุหลาบ หากกลั่นโดยใช้ Steam Coil ไม่ได้ เพราะเมื่อกลีบกุหลาบถูก Steam Coil จะหดกลายเป็น Glutinous Mass จึงต้องใช้วิธีใส่ลงไปในน้ำ กลีบกุหลาบสามารถจะหมุนเวียนไปอย่างอิสระในการกลั่น เปลือกไม้ก็เช่นกัน ถ้าใช้วิธีกลั่นด้วยน้ำ น้ำจะซึมเข้าไปและนำกลิ่นออกมา  หรือกลิ่นจะแพร่กระจายออกจากเปลือกไม้ได้ง่ายขึ้น  ดังนั้นการเลือกใช้ วิธีการกลั่นจึงขึ้นกับชนิดของพืชที่นำมากลั่นด้วย
2. การกลั่นด้วยน้ำและไอน้ำ (Water and Steam distillation)
3. การกลั่นด้วยไอน้ำ (Direct Steam distillation)
แหล่งที่มา http://www.yesspathailand.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น